งานสาน ถัก ทอ งานฝีมือ งานประดิษฐ์ ล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพเสริม ที่สร้างรายได้ทำที่บ้านได้
วันนี้ทางแอดมินขอนำเสนอ อาชีพเสริม ประเภทงานสาน เป็นสินค้า OTOP ที่ได้รับความนิยมของชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับหลายๆ คน เช่น แม่บ้าน คนตกงาน นักเรียน นักศึกษา ฯลฯ สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้มีรายได้เสริม มีประสบการณ์ สร้างอาชีพเสริมได้ต้วยตัวเอง
ความรู้เรื่องสินค้า OTOP งานแฮนด์เมดผลิตภัณฑ์สานผักตบชวา หารายได้เสริม งาน part time-handmade ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำงานฝีมืออยู่ที่บ้าน สร้างรายได้เสริมให้กับผู้ที่อยากใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ งานประเภทสาน ทำเป็นอาชีพเสริมทำที่บ้านได้ ถ้าสนใจลองอ่านรายละเอียดที่นี่
ผักตบชวา เป็นพืชน้ำล้มลุก มีอายุหลายฤดู สามารถอยู่ได้ทุกสภาพน้ำ มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล ในทวีปอเมริกาใต้ มีดอก สีม่วงอ่อน คล้ายช่อดอกกล้วยไม้ และ แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงในแหล่งน้ำทั่วไป มีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นดังนี้: ผักปอด, สวะ, ผักโรค, ผักตบชวา, ผักยะวา, ผักอีโยก, ผักป่อง ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม โดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงนำกลับมาปลูกในประเทศไทย และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น ทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป และ แพร่พันธุ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
คุณผ่องศรี ปรีชาพงค์มิตร กำนันหญิงคนแรกของจังหวัดพะเยา ในฐานะประธานกลุ่มดังกล่าว
กำนันผ่องศรีเล่าถึงความเป็นมาของการตั้งกลุ่มว่า ในอดีต ชาวบ้านตำบลสันป่าม่วง มีอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และการประมง ตำบลสันป่าม่วง มีสภาพภูมิศาสตร์ติดกับกว๊านพะเยา มีผักตบชวาลอยอยู่มากมาย ผักตบชวาเป็นเพียงวัชพืช ที่ไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด ชาวบ้านนำยอดอ่อนมาปรุงอาหาร และนำลำต้นที่กำจัดทิ้งมาหมักปุ๋ยเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ได้มีแม่ชี 2 คน จากสำนักสงค์แห่งหนึ่งซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ในการทำหัตถกรรมผักตบชวา มาพำนักอาศัยอยู่ในเขตตำบลสันป่าม่วง ได้นำความรู้ในการทำหัตถกรรมจากผักตบชวา มาฝึกสอนให้กับกลุ่มแม่บ้านตำบลสันป่าม่วง เป็นอาชีพเสริมให้แก่ชาวบ้านหลังฤดูทำนา โดนเริ่มจากการสอนชาวบ้านนำก้านผักตบชวามาจักสานเป็นของชำร่วยและเปลญวน ซึ่งใช้วิธีการที่ไม่วับซ้อนมาก โดยการนำเอาก้านผักตบชวามาตากให้แห้ง และสานขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ แต่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม่มีความคงทน สวยงาม และขึ้นราง่าย ผลิตภัณฑ์บางชนิดใช้วัตถุดิบและเวลามาก เช่น เปลญวน แต่ราคาต่ำ ผลตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มค่ากับแรงงานที่ทำไป
ต่อมาได้มีส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดพะเยา ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพะเยา สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพะเยา ได้จัดหาวิทยากรมาฝึกอบรม ให้ความรู้เพิ่มทักษะเกี่ยวกับการตากแห้งโดยการผึ่งแดด และการนำมาอบกำมะถัน ผลิตภัณฑ์ที่ฝึกหัดจักสาน ได้แก่ กระจาดรูปไข่ จานรองแก้ว ฯลฯ เป็นต้น จนกระทั่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้พิจารณาคัดเลือก หมู่บ้านสันป่าม่วง เป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว ตามโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรม หลังจากนั้นได้มีส่วนราชการต่างๆ เข้ามาให้การสนับสนุนและส่งเสริมพัฒนารูปแบบและกระบวนการผลิต ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลสันป่าม่วง สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองพะเยา สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพะเยา สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพะเยา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองพะเยา และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพะเยา ฯลฯ สนับสนุนงบประมาณ จัดฝึกอบรมทำผลิตภัณฑ์ผักตบชวาขั้นเพิ่มทักษะ สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาที่กระบวนการผลิต รูปแบบ ความคงทน และความสวยงาม เป็นที่ต้องการของตลาด ตลอดจนมีการขยายกำลังการผลิตไปยังหมู่บ้าน/ตำบล ที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อให้มีกำลังผลิตที่เพียงพอกับการรับคำสั่งซื้อของตลาดได้เอกลักษณ์ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญด้านการตลาดเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ผักตบชวาของกลุ่มถือว่า เป็นงานหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความประณีต สวยงาม สามารถทำตามรูปแบบที่ลูกค้าต้องการได้ ลวดลายเฉพาะตัว และมีเอกลักษณ์ของหัตกรรมจักสานผักตบชวา สามารถทำการผลิตได้หลายรูปแบบ เช่น กระเป๋า ตะกร้า ในรูปแบบต่าง ๆ กรอบรูป หมวก รองเท้า ของชำร่วย และโคมไฟ เป็นต้น
รางวัลการันตีมากมาย เช่น
- ได้รับรางวัลมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มผช.) เลขที่ 388-3/2539
- ได้ระดับ 4 ดาว จาการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ไทย ปี 2547
- ได้ระดับ 5 ดาว จาการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ไทย ปี 2549
- หมู่บ้านอุตสาหกรรมจักสานผักตบชวา ปี 2549
- ได้รับตราสัญลักษณ์ PHAYAO BRAND
การจัดการด้านการตลาด
1. การจัดจำหน่ายโดยกลุ่ม
- วางจำหน่ายภายในจังหaวัดพะเยา ได้แก่ ศูนย์ OTOP หน้าวัดศรีโคมคำ ร้านค้าจังหวัด นักท่องเที่ยว และคณะบุคคลต่างๆ ที่มาเที่ยวชมศึกษาดูงาน ยอดจำหน่ายประมาณ 20 %
- กลุ่มขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลาง ที่นำไปจำหน่ายยังสถานที่ต่างๆ ภายในประเทศ คือ จตุจักร ประตูน้ำ สำเพ็งเยาวราช สวนลุมไนท์บาร์ซ่า สามชุก หนองคาย เชียงใหม่ยอดจำหน่าย ประมาณ 60%
2. การจัดจำหน่ายให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่รับซื้อในหมู่บ้าน
- กลุ่มจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อ ให้กับพ่อค้าคนกลางนำไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ คือ ญี่ปุ่น ยอดจำหน่าย
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ชื่อ - นามสกุล : คุณผ่องศรี ปรีชาพงค์มิตร
ที่อยู่ : หมู่ที่1 ตำบลบ้านสันป่าม่วง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
0 ความคิดเห็น: